ขั้นตอนการต่อทะเบียนรถ และการต่อภาษีรถยนต์ 2567 (ทำตามง่ายๆ)

การต่อทะเบียนรถ และการต่อภาษีรถยนต์ นับว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้มีรถยนต์ไว้ในครอบครอง ให้เป็นไปตามกฎหมายและความถูกต้องตามกฎหมายจราจร รถทุกคันจำเป็นที่ต้องมีการต่อทะเบียนอย่างถูกต้อง

ต่อทะเบียนรถ

โดยขั้นตอนการต่อทะเบียนรถและการต่อภาษีรถมีเอกสารที่ต้องใช้ดังนี้

  1. ข้อมูลทะเบียนรถ
  2. ข้อมูลประกันภัยภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ. ที่มีวันสิ้นอายุความคุ้มครองไม่น้อยกว่า 90 วัน

ซึ่งก่อนที่คุณจะต่อทะเบียนได้นั่น คุณจะต้องตรวจเช็คสภาพรถเพื่อรับรองว่ารถของคุณนั้นสามารถใช้งานบนท้องถนนได้ตามความถูกต้องตามกฎจราจรนั่นเอง

ซึ่งค่าใช้จ่ายสำหรับการตรวจสภาพรถจะอยู่ที่ คันละ 200-300 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดของรถ โดยจะสามารถเก็บผลตรวจสภาพรถได้ 3 เดือน หลังจากตรวจ

หลายคนยังสนใจบทความน่ารู้เพิ่มเติม

การต่อทะเบียนรถและการต่อภาษีรถยนต์ผ่านระบบออนไลน์ ทำอย่างไร?

การต่อทะเบียนรถยนต์

ในปัจจุบัน เนื่องจากระบบการให้บริการได้มีความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น จึงทำให้เราสามารถที่จะเข้าถึงการต่อทะเบียนรถและการต่อภาษีรถยนต์ผ่านทางระบบออนไลน์ได้โดยง่าย เพื่อเป็นการป้องกันการรวมกลุ่มของคนจำนวนมากเนื่องจากมีโรคระบาด covid 19 นั่นเอง

โดยการต่อทะเบียนรถยนต์มีขั้นตอนและการลงระบบผ่านทางออนไลน์ดังนี้

  1. คุณสามารถที่จะเข้าถึงระบบเว็บไซต์ ผ่านช่องทางนี้ https://eservice.dlt.go.th
  2. คุณสามารถลงทะเบียนเพื่อรับรหัสการเป็นสมาชิก จากการกรอกข้อมูลส่วนตัว
  3. เลือกเมนูยื่นชำระภาษีที่ช่องบริการชำระภาษีรายปี
  4. กรอกรายละเอียดรถยนต์ของคุณ เพื่อดำเนินการชำระภาษีรถยนต์
  5. สามารถชำระภาษีผ่านทางการหักบัญชีเงินฝาก โดยต้องมีสมุดบัญชีเงินฝาก และ ชำระเงินโดยบัตรเครดิต / บัตรเดบิต และ ชำระเงินโดยพิมพ์ใบแจ้งชำระภาษีรถแล้วนำไปชำระเงิน ณ เคาน์เตอร์ ตู้ ATM หรือ Application ของธนาคาร
  6. ด้วยขั้นตอนเหล่านี้จะดำเนินการผ่านระบบออนไลน์และทางกรมการขนส่งทางบกจะส่งใบเสร็จรับเงินตามที่อยู่ของเราในภายหลัง

อัตราค่าบริการการต่อภาษีของรถยนต์แต่ละประเภท

ค่าต่อภาษีรถยนต์

คุณรู้หรือไม่ว่ารถยนต์แต่ละประเภทก็มีอัตราการจ่ายค่าบริการต่อภาษีรถยนต์ที่แตกต่างการอีกด้วยตามประเภทของรถยนต์

โดยมีค่าต่อภาษีรถยนต์แต่ละประเภทดังนี้

  1. รถยนต์ที่มีจำนวนที่นั่งโดยสาร 7 คน อัตราค่าเบี้ยประกัน 600 บาท / ปี
  2. รถยนต์ที่มีจำนวนที่นั่งโดยสาร 7 ขึ้นไป โดยไม่เกิน 15 คน อัตราค่าเบี้ยประกัน 1,100 บาท / ปี
  3. รถยนต์ที่มีจำนวนที่นั่งโดยสาร 15 ขึ้นไป โดยไม่เกิน 20 คน อัตราค่าเบี้ยประกัน 2,050 บาท / ปี
  4. รถยนต์ที่มีจำนวนที่นั่งโดยสาร 20 ขึ้นไป โดยไม่เกิน 40 คน อัตราค่าเบี้ยประกัน 3,200 บาท / ปี
  5. รถยนต์ที่มีจำนวนที่นั่งโดยสารเกิน 40 ที่นั่ง อัตราค่าเบี้ยประกัน 3,740 บาท / ปี
  6. รถยนต์ไฟฟ้าอัตราค่าเบี้ยประกัน 600 บาท / ปี

การต่อทะเบียนรถและการต่อภาษีรถยนต์ช้าต้องเสียค่าปรับเท่าไหร่

ต่อพรบรถยนต์ กี่บาท

แน่นอนว่าการต่ออายุทะเบียนรถยนต์ และการต่อภาษีรถยนต์นั้นย่อมต้องอยู่ในวันเวลาที่กำหนด และสำหรับใครที่มีการขาดการต่อทะเบียนรถและการต่อภาษีรถยนต์ที่ล่าช้าเกิน 1 ปีจะต้องมีค่าปรับตามมาอย่างแน่นอน

เพราะถ้าหากคุณขาดการต่อทะเบียนรถและการต่อภาษีรถยนต์นานเกิน 3 ปี ทะเบียนรถดังกล่าวก็จะถูกระงับการใช้งานโดยทันที

และเมื่อเราต้องการที่จะต่อภาษีและต่อทะเบียนรถยนต์หลังจากที่มีความล่าช้าโดยทางกรมขนส่งจะมีการคิดค่าอัตราค่าปรับอยู่ที่ 1 เปอร์เซ็นต์ต่อเดือนของอัตราการจ่ายค่าดำเนินการต่อภาษีของคุณ

และถ้าหากคุณปล่อยให้มีความล่าช้านานไปก็อาจจะถูกปรับในจำนวนเงินที่สูงขึ้นตามจำนวนและระยะเวลาการขาดต่อภาษีของคุณนั่นเอง

ดังนั้นเพื่อไม่ให้เป็นการเสียผลประโยชน์และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาแนะนำให้คุณยื่นต่อทะเบียนรถและการต่อภาษีรถยนต์ของคุณตามเวลาที่กำหนดจะดีที่สุด

ประเภทรถที่ไม่สามารถตรวจสภาพรถตามสถานตรวจรถเอกชนได้

ต่อพรบรถยนต์ประเภทไหนบ้าง

ถึงแม้ว่ากันต่อภาษีรถยนต์ หรือการต่อทะเบียนรถยนต์ จะสามารถตรวจสภาพรถได้ในสถานให้บริการต่อทะเบียนรถยนต์เอกชนได้

แต่ก็มีประเภทของรถยนต์บางประเภทที่ไม่สามารถดำเนินการได้ในสถานตรวจรถยนต์เอกชน ขึ้นรถประเภทดังกล่าวนี้จะต้องมีการเข้าตรวจรถยนต์กับที่ทำการขนส่งโดยตรง

ซึ่งจะประกอบไปด้วยประเภทรถดังต่อไปนี้

  1. ประเภทรถยนต์ที่มีการตกแต่งเพิ่มเติม หรือมีการดัดแปลงสภาพเปลี่ยนไปจากที่ได้จดทะเบียนไว้
  2. รถที่ทำมาปรับเปลี่ยนสี หรือมีการปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์ และเปลี่ยนประเภทเชื้อเพลิง และสภาพภายนอกของรถที่เปลี่ยนไปจากเดิม
  3. เลขที่มีปัญหาเกี่ยวกับข้อมูลตัวเลขของรถ หรือประเภทรถที่ไม่สามารถระบุได้ในระบบขนส่ง
  4. ที่มีการแจ้งไม่ใช้งานชั่วคราว หรือรถที่มีการแจ้งไม่ใช้งานตลอดไป
  5. รถรุ่นเก่าที่มีทะเบียนรถเป็นแบบเก่า ตัวอย่างเช่น กท-00001, กทจ-0001
  6. รถที่มีปัญหาเกี่ยวกับการโจรกรรม หรือเป็นรถที่มีคดี แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ภายหลัง
  7. รถที่มีการขาดต่อภาษีเกิน 1 ปี

สรุป

สำหรับข้อมูลเรื่องการต่อทะเบียน และการต่อภาษีรถยนต์อย่างละเอียด ซึ่งพอทุกท่านได้ทราบถึงขั้นตอนแล้ว จะพบได้ว่าสามารถทำได้ด้วยตนเองไม่ยากเลย เพียงทำตามขั้นตอนที่กำหนดไว้นั่นเอง หากสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบกได้เลยครับ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://www.dlt.go.th/th/ และ https://car.kapook.com/view251017.html

หลายคนยังสนใจบทความน่ารู้เพิ่มเติม

ตรวจสภาพรถยนต์เรียบร้อยแล้ว หากใครสนใจติดฟิล์มกรองแสงรถยนต์กับเรา ติดต่อเราสิครับ

โทรติดฟิล์ม

Line:@filmtastic.th

Facebookฟิล์มติดอาคาร