การเลือกติดฟิล์มอาคาร

การเลือกติดฟิล์มอาคาร ต้องเลือกอย่างไร?วิธีเลือกติดฟิล์มอาคาร

ฟิล์มติดอาคาร ฟิล์มติดบ้าน มีอยู่ 4 ประเภทใหญ่ๆ ให้เลือกตามความต้องการครับ มีอะไรบ้าง เรามาดูกันครับ

หากต้องการติดฟิล์มรถยนต์แนะนำให้อ่านบทความนี้ครับ

แต่ถ้าอยากเห็นตัวอย่างฟิล์มกรองแสงจริง วัดพื้นที่หน้างาน ฟรี! โทรเลย

โทรติดฟิล์มอาคาร

Line:@filmtastic.th

Facebookฟิล์มติดอาคาร

1. ฟิล์มอาคารปรอท

ตัวอย่างฟิล์มปรอท

ฟิล์มปรอท เป็นฟิล์มกรองแสงที่ฉาบสารกันร้อน ด้วยสารโลหะต่างๆ เช่น เงิน อลูมิเนียม ทอง (ไม่ได้ฉาบสารปรอทในเนื้อฟิล์ม) ทำให้เนื้อฟิล์มกรองแสง มันวาวคล้ายกระจก

ข้อดีของฟิล์มปรอท

ฟิล์มปรอทมีข้อดี คือ ให้ความเป็นส่วนตัวสูง มองจากข้างนอกเข้ามาข้างในไม่เห็น สามารถสะท้อนแสง สะท้อนความร้อนได้ดีมาก ฟิล์มราคาถูก เมื่อเทียบกับฟิล์มประเภทอื่นๆ มีหลากหลายสีให้เลือก ไม่ว่าจะเป็น ฟิล์มปรอทฟ้า ฟิล์มปรอทเขียว ฟิล์มปรอทเงาวันเวย์ เป็นต้น

ข้อเสียของฟิล์มปรอท

ข้อเสียหลักๆของฟิล์มติดอาคารแบบปรอท คือ ฟิล์มอาจจะทำให้แสงจะสะท้อนเข้าตาผู้อื่นได้ ถ้ามีค่าสะท้อนแสง(VLR)สูง ซึ่งคอนโดบางแห่ง มีข้อกำหนดห้ามติดฟิล์มอาคารแบบฉาบปรอท คอนโดบางที่ สามารถอนุโลมให้ติดได้ แต่ต้องเป็นฟิล์มอาคารติดกระจก ที่ค่าสะท้อนแสงน้อยกว่า 20%

ข้อเสียอีกอย่างหนึ่งของฟิล์มปรอทคือ ฟิล์มจะสีซีดลงไปเรื่อยๆ ตามกาลเวลา และจะป้องกันความร้อนได้น้อยลงเรื่อยๆอีกด้วย ซึ่งจะเสื่อมไปตลอดเวลา 5-7 ปี ตามการรับประกัน

ดูรีวิวความเข้ม ฟิล์มปรอท 60% สะท้อนแสง 15%

ติดฟิล์มปรอทยี่ห้อไหนดี? 

ถ้าเป็นฟิล์มปรอทติดอาคาร ขอแนะนำแนะนำฟิล์มกรองแสง 3M รุ่น Night Vision(NV) เป็นรุ่นที่ขายดีของเรา เนื่องจากแสงสะท้อนภายในน้อย ทำให้ทัศนวิสัย ดีกว่าฟิล์มปรอทยี่ห้ออื่นๆครับ อีกทั้งยังป้องกันความร้อนสูงอีกด้วย  

ทางทีมงานสามารถแนะนำฟิล์มปรอท ที่เหมาะกับคอนโดของท่านได้ครับ โทรเลย 0926699155

โทรติดฟิล์มอาคาร

Line:@filmtastic.th

Facebookฟิล์มติดอาคาร

ฟิล์มปรอท เหมาะสำหรับติดอาคารแบบไหนบ้าง?

  1. ติดฟิล์มคอนโดหรือบ้านชั้นล่าง ที่ต้องการความเป็นส่วนตัวสูง ไม่ต้องการให้คนข้างนอกมองเข้ามาข้างในเห็น แต่คนข้างในมอกออกไปข้างนอกได้ 
  2. ติดกระจกอาคารที่ต้องการกันความร้อนสูงสุด เนื่องจาก ฟิล์มปรอทมีคุณสมบัติการสะท้อนแสงสูง ทำให้การป้องกันแสง และสะท้อนความร้อนได้สูง
  3. ต้องการฟิล์มติดกระจกบ้านราคาถูก ซึ่งฟิล์มปรอทถือเป็นฟิล์มติดอาคารที่คุ้มค่า เป็นตัวเลือกที่ดีมาก เพราะกันร้อนสูง บางรุ่นกันได้มากถึง 80% แต่ราคาแทบจะครึ่งๆกับฟิล์มเซรามิคเลยด้วยซ้ำ

ตัวอย่างการติดฟิล์มปรอท เทียบความเข้มแบบติดแล้วกับไม่ติด

ฟิล์มอาคารปรอท
ติดฟิล์มปรอท
ตัวอย่างการติดฟิล์มปรอท

2. ฟิล์มอาคารดำ

ตัวอย่าฟิล์มดำ

ฟิล์มดำ เป็นฟิล์มกรองแสงที่เคลือบด้วยสารต่างๆ ที่ทำให้ฟิล์มกรองแสงอาคารนั้นมีความเข้ม มีตั้งแต่เกรดธรรมดา คือใช้การเคลือบโดยการย้อมสีดำ ไปจนถึงฟิล์มเกรดพรีเมียม คือ ฟิล์มที่เคลือบด้วย เทคโนโลยีนาโนเซรามิค หรือที่เราเรียกว่าฟิล์มเซรามิค นั่นเอง

ข้ิอดีของฟิล์มดำ 

ฟิล์มติดอาคารดำ มีให้เลือกหลากหลายความเข้ม ซึ่งทั่วไปก็จะมีความเข้มตั้งแต่ 40 50 60 70 80 ครับ ซึ่งฟิล์มกรองแสงยิ่งเข้มก็จะยิ่งกันความร้อนได้ดี เพราะแสงผ่านเข้ามาน้อย แต่ก็จะทำให้ทัศนวิสัยมืดลงด้วยเช่นกัน สะท้อนแสงน้อย จึงสามารถติดได้ทั้งบ้าน อาคาร คอนโด

สำหรับคนที่ต้องการติดฟิล์มติดอาคารแบบมืด แต่มองออกไปจากข้างในไม่มืดมาก ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ก็จะมี "ฟิล์มเซรามิค" ซึ่งตอบโจทย์ลูกค้าได้ดีครับ จะมีคุณสมบัติ ฟิล์มดำนอกสว่างใน อย่างที่หลายๆคนต้องการ

ข้อเสียของฟิล์มดำ

ถ้าจะติดฟิล์มดำ ต้องเลือกฟิล์มดำเกรดที่เคลือบสารกันร้อนสูงเท่านั้น ไม่แนะนำให้เลือกติดฟิล์มดำย้อมสี เพราะ จะกันร้อน กันUV ได้ไม่ดี และสีจะซีดไวอีกด้วย ซึ่งการติดฟิล์มดำเซรามิคราคาก็จะค่อนข้างสูงด้วยเช่นเดียวกัน แต่ก็มาพร้อมกับคุณภาพคุ้มค่าราคา

รีวิวติดฟิล์มดำเข้ม 80% ข้างนอกมองเข้ามาข้างในไม่เห็น 

ติดฟิล์มดำเซรามิคยี่ห้อไหนดี?

แนะนำติดฟิล์มอาคารเซรามิคอาคาร ยี่ห้อขายดีของทางร้าน คือ ฟิล์มเซรามิคยี่ห้อ3M และ ฟิล์มเซรามิค HeatGard เป็นฟิล์มเซรามิคดำที่กันความร้อนได้สูงกว่า 80% รับประกันนานกว่า 7 ปี และยังราคาถูก ติดไปส่วนมากลูกค้าชอบแทบทุกราย

สนใจฟิล์มดำ ฟิล์มเซรามิคทุกความเข้ม โทรหาเราสิครับ 0926699155

โทรติดฟิล์มอาคาร

Line:@filmtastic.th

Facebookฟิล์มติดอาคาร

ฟิล์มดำ ฟิล์มเซรามิค เหมาะสำหรับติดอาคารแบบไหนบ้าง?

  1. ติดคอนโด ที่ต้องการลดแสงจ้า เพราะฟิล์มดำ สามารตัดแสงได้ดี แถมยังมีหลายความเข้มให้เลือก ไม่ว่าจะเป็นฟิล์ม 40/60/80 ตอบโจทย์ได้หลากหลาย แถมยังไม่ผิดกฏคอนโดเรื่องฟิล์มสะท้อนแสงอีกด้วย
  2. คอนโด ที่หันหน้าไปทางทิศตะวันตก เนื่องจากโดนแสงแดดช่วงบ่ายตลอดทั้งวัน ทำให้ต้องการลดความร้อนสูง ซึ่งความเข้ม 80 จะเป็นที่นิยมมาก
  3. ติดฟิล์มดำห้องนอน ที่อยากให้ได้ความเข้มสูง ไม่อยากให้แสงจ้า กันร้อนดี หลับสบายยาวๆ
  4. ฟิล์มดำเกรดเซรามิค เหมาะสำหรับ ห้องที่ต้องการทัศนวิสัยภายในเคลีย คมชัด ไม่สะท้อนแสง กันร้อนสูง เช่น ห้องนั่งเล่น ห้องรับแขก เป็นต้น

ตัวอย่าง ผลงานการติดฟิล์มติดกระจกอาคารดำ 

การติดฟิล์มอาคารดำ
การติดฟิล์มอาคารดำ
ตัวอย่างการติดฟิล์มดำ

3. ฟิล์มใสกันร้อน

ตัวอย่างฟิล์มใส

ฟิล์มใสกันร้อน คือ ฟิล์มกรองแสง ที่ยอมให้แสงสว่างส่องผ่านมากกว่า 70% แต่กลับเป็นฟิล์มติดอาคาร ที่ป้องกันรังสีความร้อน และรังสีอินฟราเรดได้สูง และก็ยังมีความใส ติดฟิล์มแล้วรู้สึกเหมือนไม่ติด สามารถมองจากด้านนอกเข้ามาได้ชัดเจน

ฟิล์มใสกันร้อน เหมาะสำหรับคนที่ต้องการชมวิวยามค่ำคืน คอนโดชั้นสูง หรือ ร้านค้าที่ต้องการโชว์ของหน้าร้าน ร้านกาแฟ ร้านอาคาร 

แนะนำฟิล์มใสกันร้อน ยี่ห้อไหนดี?

ฟิล์มใสกันร้อนต้องจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยี การผลิตฟิล์มแบบพิเศษ เช่น การเคลือบโดยใช้สารนาโน หรือ การเคลือบแบบ Spluttering นั่นเป็นสาเหตุให้ ราคาฟิล์มใสกันร้อนจะค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับฟิล์มกรองแสงประเภทอื่นๆครับ แนะนำฟิล์มกรองแสง iQue by V-Kool รุ่น 73FG กับฟิล์ม SolarFX รุ่น FXC70 เป็นรุ่นยอดนิยม โดยราคาเริ่มต้นที่ตารางฟุตละ 150 บาท 

สอบถามราคาฟิล์มใสกันร้อน โทรหาเราสิครับ 0926699155

โทรติดฟิล์มอาคาร

Line:@filmtastic.th

Facebookฟิล์มติดอาคาร

ฟิล์มใสกันร้อน เหมาะสำหรับอาคารแบบไหนบ้าง?

  1. ติดกระจก ร้านอาหาร คาเฟ่ ที่ไม่อยากติดม่าน แต่ต้องการป้องกันความร้อน
  2. โชว์รูม ร้านค้า ที่ต้องการโชว์สินค้า ที่ต้องการให้ข้างนอกมองเข้ามาเห็นข้างในชัดเจน 
  3. ฟิล์มติดกระจกบ้าน ที่ต้องการกันร้อน กันUV กันเฟอร์นิเจอร์ซีดจาง แต่ไม่บดบังทัศนวิสัย
  4. ติดฟิล์มใสที่คอนโด ชั้นสูง เน้นชมวิวทิวทัศน์ ไม่กันแสง แต่ฟิล์มป้องกันความร้อน และรังสี UV

ตัวอย่างการติดฟิล์มอาคารใสกันร้อน

ฟิล์มอาคารใส
ฟิล์มติดอาคารใส
ฟิล์มใสกันร้อน

4. ฟิล์มนิรภัย

ตัวอย่างฟิล์มนิรภัย

ฟิล์มนิรถัย เป็นฟิล์มกรองแสงที่ผลิตด้วยวัสดุที่มีความเหนียวเป็นพิเศษ มีความหนามากกว่าฟิล์มทั่วๆไป 3-5 เท่า ซึ่งฟิล์มกรองแสงทั่วไปจะหนา 1-2 Mill (1/1000นิ้ว) แต่ฟิล์มนิรภัยจะหนาตั้งแต่ 4Mill 8Mill 13Mill

ข้อดีของฟิล์มนิรภัย

ฟิล์มนิรภัยสามารถกันการทุบกระจกได้ ยืดระยะเวลาการทุบทำลายกระจกได้เป็นอย่างดี ฟิล์มนิรภัย ส่วนมากแล้วจะใส เป็นฟิล์มกรองแสงที่กัน UVได้ 99% แต่กันความร้อนได้เพียงบางส่วนเท่านั้น เนื่องจากหน้าที่หลักของฟิล์มนิรภัยคือ สามารถป้องกันกระจกแตกจากอุบัติเหตุและการทุบกระจกได้ดี ป้องกันขโมย

ข้อเสียของฟิล์มนิรภัย

ฟิล์มนิรภัย มีจุดด้อยตรงที่การป้องกันความร้อนไม่ได้มากเท่าฟิล์มกรองแสง ฟิล์มดำ หรือ ฟิล์มปรอท ทั่วๆไป และเรื่องความคมชัดก็จะไม่คมชัดด้วยเช่นกัน เนื่องจากความหนาของฟิล์มที่มากกว่าปกติ แต่ก็จะมีจุดเด่นเรื่องความแข็งแรงทนทานที่มากกว่า

ติดฟิล์มนิรภัย ยี่ห้อไหนดี?

ถ้าจะติดฟิล์มนิรภัย แนะนำฟิล์มนิรภัยยี่ห้อ 3M เพราะเป็นฟิล์มกรองแสงระดับโลก ถ้าเป็นเรื่องความน่าเชื่อถือ ความปลอดภัย ควรจะเลือกฟิล์มที่มียี่ห้อ ไม่ควรเลือกฟิล์ม no name ทั่วๆไป แนะนำความหนาแค่ 4 มิล ก็เพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องติดหนามากกว่านี้ เนื่องจากทัศนวิสัยจะไม่ดี

สนใจติดฟิล์มนิรภัย ฟิล์มกันขโมย ราคาพิเศษ ติดต่อเราสิครับ

โทรติดฟิล์มอาคาร

Line:@filmtastic.th

Facebookฟิล์มติดอาคาร

หลายๆคนยังสนใจ บทความเหล่านี้

ขั้นตอนติดฟิล์มอาคาร

Filmtastic ยินดีให้คำปรึกษาด้านฟิล์มติดอาคาร มีบริการประเมินราคาฟรี โทรเลย 0926699155
เรารับติดฟิล์มอาคารทุกชนิด รับติดฟิล์มทุกยี่ห้อ รับติดฟิล์มทุกประเภท ตอบโจทย์ทุกความต้องการ

โทรติดฟิล์มอาคาร

Facebookฟิล์มติดอาคาร

ดูผลงานการติดฟิล์มอาคารที่ผ่านมา  ตัวอย่างฟิล์มนิรภัยทำไมต้องเลือกร้านติดฟิล์มอาคารกับเรา

ทำไมต้องฟิล์มติดอาคาร filmtastic2

ร้านติดฟิล์ม Filmtastic ต่างจาก ร้านติดฟิล์มกรองแสงทั่วไปอย่างไร?

• Filmtastic เรายินดีให้คำปรึกษาด้านฟิล์มกรองแสง และประเมินราคาฟรี ด้วยความเต็มใจ

• เรามีฟิล์มอาคาร ทุกชนิด ทุกยี่ห้อชั้นนำ ราคาถูก ทั้งฟิล์มลามินา ฟิล์มHi-kool ฟิล์ม3M ฟิล์มiQue ตอบโจทย์ทุกความต้องการ

• มีฟิล์มกรองแสงตัวอย่าง พร้อมเครื่องทดสอบคุณภาพฟิล์มติดอาคาร ให้ลูกค้าดูหน้างานเพื่อความมั่นใจ

ลูกค้าทั่วใจ มั่นใจ ร้านติดฟิล์ม Filmtastic เพราะเราคือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการติดฟิล์มบ้าน ติดฟิล์มอาคาร ติดฟิล์มคอนโด ติดฟิล์มสำนักงาน

รีวิว ร้านติดฟิล์ม

ติดฟิล์มกรองแสงกับเรา โทรเลย

โทรติดฟิล์มอาคาร

Line:@filmtastic.th

Facebookฟิล์มติดอาคาร

การเลือกติดฟิล์มคอนโด

ติดฟิล์มคอนโด ต้องเลือกฟิล์มติดอาคารแบบไหนดี ?

ติดฟิล์มคอนโดทั้งที่ มีฟิล์มติดอาคารหลากหลายอย่าง ไม่รู้จะต้องเริ่มแบบไหน วันนี้ Filmtastic จะมาไขข้อสงสัยกันครับ

ในการเลือกฟิล์มติดกระจกคอนโด นั้น จริงๆแล้วต้องพิจารณาฟิล์มติดอาคารที่เหมาะสมกับคอนโด ทั้งประเภทของฟิล์ม ทิศทางของห้อง และ ความเข้มที่ต้องการ การติดฟิล์มอาคารในคอนโดต่างๆนั้น จะมีเรื่องที่จะต้องพิจารณาเป็นพิเศษมากกว่าการติดฟิล์มกระจกบ้าน เพราะคอนโดหลายๆแห่งจะมีกฏเรื่องการติดฟิล์มอาคารเป็นพิเศษ

เช่น บางคอนโดไม่อนุญาตให้ติดฟิล์มสะท้อนแสงสูง หรือ ฟิล์มปรอท ที่มีการสะท้อนแสงของฟิล์มมากกว่า 20-30% บางคอนโดไม่อนุญาตให้ติดฟิล์มดำเข้ม เข้มเกิน 60%

เพราะฉะนั้น ในการเลือกฟิล์มคอนโด เราจะมีเทคนิคในการเลือกฟิล์มอาคาร ดังนี้

1. ควรติดฟิล์มอาคารที่เป็นฟิล์มสะท้อนแสงน้อย หรือ ฟิล์มจำพวกฟิล์มดำหรือฟิล์มเซรามิค เพื่อป้องกันการสะท้อนแสงไปรบกวนห้องฝั่งตรงข้าม

2. ควรติดฟิล์มอาคารความเข้มไม่ควรเกิน 60 % เพราะถ้าเข้มมากจะทำให้ห้องค่อนข้างมืด เพราะแสงส่องผ่านเข้าน้อย ทำให้ห้องดูไม่โปร่ง

3. ในกรณีที่เป็นห้องนอนที่ต้องการความเป็นส่วนตัวมากๆ ต้องการแสงเข้าน้อย หรือห้องหันหน้าไปทางทิศตะวันตกที่ทำให้โดนแสงแดดเข้ามาเต็มๆ แบบนั้นก็สามารถแนะนำติดฟิล์มความเข้ม 80%ได้ครับ

4. ควรเลือกฟิล์มอาคารที่เป็นเกรดสำหรับติดอาคารโดยเฉพาะ เพราะคอนโดจะโดนแดดข้างเดียวตลอดทั้งวัน ทำให้ฟิล์มกรองแสงอาคารมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าที่จะเสื่อมสภาพ ลอกออกพองก่อน ระยะการรับประกัน

5. ควรเลือกฟิล์มติดอาคารที่คุณภาพของฟิล์ม ที่มีการรับประกันมากกว่า 7-10 ปี เพราะ ใครๆก็คงไม่อยากเปลี่ยนฟิล์มอาคารกันบ่อยๆใช่มั้ยครับ อีกทั้งการเปลี่ยนฟิล์มอาคารนั้น จะต้องมีการลอกคราบกาวที่ติดอยู่บนกระจก ทำให้กระจกช้ำเอาง่ายๆ

6. สำหรับห้องที่ต้องการลดความร้อน แค่ม่านอย่างเดียวยังไม่พอ แนะนำให้ติดฟิล์มใสกันร้อน ซึ่งจะตอบโจทย์ในเรื่องทัศนวิสัยที่ดีมาก ติดแล้วรู้สึกเหมือนไม่ติดฟิล์ม แต่สามารถกันร้อนได้สูง สามารถตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดีครับ

เป็นยังไงบ้างครับสำหรับสาระความรู้ที่ Filmtastic นำมาฝาก สำหรับท่านใดที่ต้องการติดฟิล์มอาคาร ฟิล์มบ้าน ฟิล์มคอนโด สามารถปรึกษาเราได้ที่ โทร. 092-6699-155, 02-003-3583 Line: @Filmtastic.th ฟิล์มจะอยู่กับเราไปอีกหลายปี ติดฟิล์มทั้งที เลือก Filmtastic สิครับ ยินดีให้คำปรึกษา ฟรี!!

ขั้นตอนติดฟิล์มอาคาร

“ ยินดีให้คำปรึกษาด้านการเลือกฟิล์มกรองแสง และวัดพื้นที่หน้างาน ฟรี !!! ”

โทรติดฟิล์มอาคาร

Line:@filmtastic.th

Facebookฟิล์มติดอาคาร

หลายๆคนยังสนใจ บทความเหล่านี้